ประวัติสมาคมTAPAA

ประวัติสมาคมผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ และอะไหล่ทดแทนไทย

สมาคมผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ และอะไหล่ทดแทนไทย THAI AUTO PARTS AFTERMARKET ASSOCIATION: TAPAA (อ่านว่า ทาป้า) ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2552 โดยมีสำนักงานสมาคมตั้งอยู่ที่ สี่แยกถนนวรจักร ซึ่งเป็นย่านการค้าที่เกี่ยวข้องกับอะไหล่รถยนต์ซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

https://tapaa.or.th/wp-content/uploads/2021/10/signature-h2.png
Full of energy and proactive, Jorgen is the heart and soul of Korsel team, pushing the car care to the next level while he truly enjoys his job and the challenges it offers.

Podcasting operational change management inside of workflows to establish a framework. Taking seamless key performance indicators offline to maximise the long tail. Keeping your eye on the ball while performing a deep dive on the start-up mentality to derive convergence on cross-platform integration.

https://tapaa.or.th/wp-content/uploads/2021/10/signature-h2.png
post_08
post_07
post_06
post_05
post_01
เป็นที่รับทราบในเวทีการค้าระดับสากลว่า

ชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทนรถยนต์ของไทย เป็นที่ต้องการของตลาดจากหลากหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากตัวสินค้ามีคุณภาพมาตรฐานสูง และ เสนอขายในราคาที่เหมาะสม จะเห็นได้จากยอดการส่งออกสินค้าประเภทชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทนรถยนต์ขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกๆปี

สาเหตุของการก่อตั้งสมาคมฯ

แต่หลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารในหลายๆประเทศที่เป็นประเทศปิด หันมาสนับสนุนให้เปิดประเทศและทำการค้าอย่างเสรีโดยมีรัฐบาลเป็นฝ่ายสนับสนุน ทำให้รูปแบบของการแข่งขันในตลาดอะไหล่รถยนต์ รวมไปถึงสินค้าอุปโภค และบริโภค ประเภทอื่นๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการแข่งขันปรับตัวขึ้นอยู่ในระดับสูง ยิ่งไปกว่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้บริโภค ที่แต่ก่อนพิจารณาเรื่อง “คุณภาพของสินค้า” ไปเป็น “ราคาสินค้า”

ตราเครื่องหมายสมาคม

ฟันเฟือง แสดงถึง เครื่องทดแรง ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเครื่องจักรกลทุกประเภท รูปรถยนต์ แสดงถึง ธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับสมาชิกภายในสมาคม

ดังนั้น ความหมายของตราเครื่องหมายสมาคม สามารถสื่อได้ว่า สมาคมจะอาสาทำหน้าที่เป็นฟันและเฟืองในการประสานงานระหว่างส่วนต่างๆของภาคธุรกิจ และ ยังทำการขับเคลื่อนการทำงานของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอะไหล่ทดแทนของผู้ประกอบการชาวไทย ให้เดินหน้าไปอย่างราบรื่น ไร้อุปสรรค ภายใต้วัตถุประสงค์อันหนึ่งอันเดียวกัน

https://tapaa.or.th/wp-content/uploads/2021/10/img-bubbles-2.png

จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับชิ้นส่วนและอะไหล่ทดแทนรถยนต์ เริ่มทำการรวมกลุ่มกันเพื่อออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายที่จะแสดงศักยภาพของสินค้า และผู้ผลิตจากประเทศไทย ซึ่งจากการรวมตัวกันบ่อยครั้ง ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม จนนำไปสู่ความคิดที่จะจัดให้มีการรวมตัวกันอย่างถูกต้องเป็นกิจลักษณะ เพื่อที่จะสามารถกระจายข่าวสาร, สิทธิประโยชน์ และ ความรู้ประสบการณ์ สู่วงกว้างให้แก่ผู้ประกอบการชาวไทยได้อย่างทั่วถึง

16. รูปภาพ - CHUSILP GROUP TRADING CO., LTD (4) (1)
img-hero-03
11. รูปภาพ - POR. RUNGROD EXPORT CO.,LTD (3)
12. รูปภาพ - WORA INTERTRADE CO.,LTD (5)
13. รูปภาพ - B.J. MOTOR PARTS, Runstop Brake (4)
13. รูปภาพ - B.J. MOTOR PARTS, Runstop Brake (1)

TAPAAวัตถุประสงค์

และกิจกรรมหลักของ สมาคมผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์และอะไหล่ทดแทนไทย
  • เพื่อเป็นศูนย์การติดต่อสื่อสารและสนับสนุนช่วยเหลือสมาชิกในการแก้ไขปรับปรุงการประกอบวิสาหกิจประเภทที่ อยู่ในวัตถุที่ประสงค์
  • สอดส่องและติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดการค้าทั้งภายในและภายนอกประเทศเกี่ยวกับสินค้าที่สมาชิก ประกอบวิสาหกิจ เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การค้า การเงิน เศรษฐกิจ หรือความมั่นคงของประเทศ
  • ทำการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบวิสาหกิจประเภทที่อยู่ในวัตถุที่ประสงค์ แลกเปลี่ยนและเผยแพร่ความรู้ในทาง วิชาการ ตลอดจนข่าวสารการค้าอันเกี่ยวกับการวิสาหกิจนั้น ๆ
  • ขอสถิติ เอกสาร หรือขอทราบข้อความใด ๆ จากสมาชิกเกี่ยวกับการดำเนินวิสาหกิจประเภทที่อยู่ในวัตถุที่ ประสงค์ ทั้งนี้ด้วยความยินยอมของสมาชิก
  • ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพของสินค้าที่ผลิตหรือจำหน่าย โดยผู้ประกอบวิสาหกิจที่เป็นสมาชิกให้เข้ามาตรฐาน ตลอดจนวิจัยและปรับปรุงวิธีการผลิตและการค้าให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
  • ร่วมมือกับรัฐบาลในการส่งเสริมการค้า อุตสาหกรรม การเงินหรือธุรกิจอื่นใดในทางเศรษฐกิจอันอยู่ในวัตถุที่ ประสงค์
  • ส่งเสริมการผลิต เพื่อให้สินค้ามีปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ
  • ทำความตกลงหรือวางระเบียบให้สมาชิกปฏิบัติ หรืองดเว้นการปฏิบัติ เพื่อให้การประกอบวิสาหกิจประเภทที่อยู่ ในวัตถุที่ประสงค์ได้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
  • ประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างสมาชิก หรือระหว่างสมาชิกกับบุคคลภายนอกในการประกอบวิสาหกิจ
  • ร่วมมือกันระหว่างสมาชิกในการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ประกอบการ และ ผู้บริโภคชาวไทย